ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)

เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 

    เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)  

    เป็นฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาในที่โล่ง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากเมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ

  • ก๊าซโอโซน (O3) 

    เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ละลายน้ำได้เล็กน้อย เกิดขึ้นได้ทั้งในระดับบรรยากาศชั้นที่สูงจากผิวโลก และระดับชั้นบรรยากาศผิวโลกที่ใกล้พื้นดิน ก๊าซโอโซนที่เป็นสารมลพิษทางอากาศคือก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศผิวโลก เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยก่อให้เกิดการระคายเคืองตาและระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุต่างๆ ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง

  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 

    เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ก๊าซนี้สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้โดยจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า เมื่อหายใจเข้าไปทำให้ก๊าซชนิดนี้จะไปแย่งจับกับฮีโมโกลบินในเลือด เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CoHb) ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น

  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)  

    เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ อุตสาหกรรมบางชนิด เป็นต้น ก๊าซนี้มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)  

    เป็นก๊าซที่ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองอ่อนๆ มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง เกิดจากธรรมชาติและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วนประกอบ สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นแล้วก่อตัวเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กได้ ก๊าซนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป
ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย (ตารางที่ 1) 

โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศ
มีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

ตารางที่ 1 : เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย
AQI สีที่ใช้ ความหมาย คำอธิบาย
0 - 25
อากาศดีมาก ประชาชนทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
26 - 50
อากาศดี ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ หรือ วิงเวียนศีรษะ
51 - 100
อากาศปานกลาง ประชาชนทั่วไป : ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง :
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้ง ที่ออกนอกอาคาร
  • ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
  • หากมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์
101 - 200
เริ่มมีผลกระทบ ประชาชนทั่วไป :
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
- จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
- ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง :
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
- เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
- ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
201 ขึ้นไป
มีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทุกคน :
- งดกิจกรรมกลางแจ้ง
- หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5
- หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศรายวันของสารมลพิษทางอากาศแต่ละประเภท

คำนวณจากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ
โดยมีระดับของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ระดับต่างๆ ดัง (ตารางที่ 2)
การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศภายในช่วงระดับ เป็นสมการเส้นตรง ดังนี้

กำหนดให้
x จากค่าดัชนีย่อยที่คำนวณได้ สารมลพิษทางอากาศประเภทใดมีค่าดัชนีสูงสุดจะใช้เป็นดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ณ ช่วงเวลานั้น
I =

ค่าดัชนีย่อยคุณภาพอากาศ

X =

ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากการตรวจวัด

Xi , Xj =

ค่าต่ำสุด, สูงสุด ของช่วงความเข้มข้นสารมลพิษที่มีค่า X

Ii , Ij =

ค่าต่ำสุด, สูงสุด ของช่วงดัชนีคุณภาพอากาศที่ตรงกับช่วงความเข้มข้น X

ตารางที่ 2 ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ

AQI เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เฉลี่ย 8 ชั่วโมง เฉลี่ย 1 ชั่วโมง
PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) PM10 (มคก./ลบ.ม.) O3 (ppb) CO (ppm) NO2 (ppb) SO2 (ppb)
0 - 25
0 - 15.0
0 - 50
0 - 35
0 - 4.4
0 - 60
0 - 100
26 - 50
15.1 - 25.0
26 - 50
36 - 50
4.5 - 6.4
61 - 106
101 - 200
51 - 100
25.1 - 37.5
81 - 120
51 - 70
6.5 - 9.0
107- 170
201 - 300
101 - 200
37.6 - 75.0
121 - 180
71 - 120
9.1 - 30.0
171 - 340
301 - 400
201 ขึ้นไป
75.1 ขึ้นไป
181 ขึ้นไป
121 ขึ้นไป
30.1 ขึ้นไป
341 ขึ้นไป
401 ขึ้นไป
ช่วงเวลาเฉลี่ย และหน่วยสารมลพิษทางอากาศที่ใช้ในการคำนวน
วิธีตรวจวัด
สารมลพิษในบรรยากาศ (Air Pollutants) ค่ามาตรฐาน (Standards)จะต้องไม่เกิน ค่าเฉลี่ยเวลา (Avg. Time)
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศกรมควบคุมมลพิษ
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(1)Carbon Monoxide (CO) 30 ppm (34.2mg/m3)
9 ppm (10.26mg/m3)
1 ชั่วโมง
8 ชั่วโมง
ระบบนันดีสเปอร์ซีฟ อินฟราเรด ดีเทคชั่น
(Non-dispersive Infrared Detection)
-
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (1),(2),(3)Sulfur Dioxide (SO2) 0.30 ppm (780 μg/m3)
0.12 ppm (0.30 mg/m3)
0.04 ppm (0.10 mg/m3)
1 ชั่วโมง
24 ชั่วโมง
1 ปี
ระบบ ยู วี ฟลูออเรสเซน (2)
ระบบพาราโรซานิลีน (1) (Pararosaniline)
ระบบพาราโรซานิลีน
ระบบอุลตร้าไวโอเลต ฟลูออเรสเซน(Ultraviolet Fluorescence)
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (1),(5)Nitrogen Dioxide (NO2) 0.17 ppm (0.32 mg/m3)
0.03 ppm (0.057 mg/m3)
1 ชั่วโมง
1 ปี
ระบบเคมีลูมิเนสเซน (5)
(Chemiluminescence)
ระบบคาวิตี แอทเทนนูเอเต็ด เฟส ชิพ สเปกโทรสโกปี
(Cavity Attenuated Phase Shift Spectroscopy; CAPS)
ก๊าซโอโซน (1),(4)
Ozone (O3)
0.10 ppm (0.20 mg/m3)
0.07 ppm (0.14 mg/m3)
1 ชั่วโมง
8 ชั่วโมง
ระบบเคมีลูเนสเซน ระบบอุลตร้าไวโอเลต แอ็บซอบชั่น โฟโตเมดตรี(Ultraviolet Absorption Photometry)
ตะกั่ว 
(1)Lead (Pb)
1.5 μg/m3 1 เดือน
ระบบอะตอมมิก แอบซอพชั่น สเปคโตรมิเตอร์
(Atomic Absorption Spectrometer)
-
ฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน100 ไมครอน (1),(3)Total Suspended Particulate Matter (TSP) 0.33 mg/m3
0.10 mg/m3
24 ชั่วโมง
1 ปี
ระบบกราวิเมตริก
(Gravimetric)
-
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (1),(3),(9)
Particulate matter withanaerodynamic diameterless than or equal to a nominal 10 micrometers (PM10)
120 μg/m3
50 μg/m3
24 ชั่วโมง
1 ปี
ระบบกราวิเมตริก (1)
(Gravimetric)
  • วิธีเบต้า เรดิเอชั่น แอทเทนนูเอชัน (Beta Radiation Attenuation)
  • วิธีเทปเปอร์ อิลิเมนต์ ออสซิเลติง ไมโครบาลานซ์ (Tapered Element Oscillating Microbalance: TEOM)
  • วิธีการกระเจิงของแสง (Light Scattering)
  • วิธีเก็บตัวอย่างด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบไดโคโตมัส 9 (Dichotomous Air Sampler)
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (6)Particulate matter with anaerodynamic diameterless than or equal to a nominal 2.5 micrometers (PM2.5) 37.5 μg/m3
15 μg/m3
24 ชั่วโมง
1 ปี
ระบบกราวิเมตริก
(Gravimetric)
  • วิธีเบต้า เรดิเอชั่น แอทเทนนูเอชัน (Beta Radiation Attenuation)
  • วิธีเทปเปอร์ อิลิเมนต์ ออสซิเลติง ไมโครบาลานซ์ (Tapered Element Oscillating Microbalance: TEOM)
  • วิธีการกระเจิงของแสง (Light Scattering)
  • วิธีเก็บตัวอย่างด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบไดโคโตมัส (Dichotomous Air Sampler) และวิเคราะห์ด้วยวิธีกราวิเมตริก
ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ (7)Carbon Disulfide (CS2) 100 μg/m3 24 ชั่วโมง
US EPA Compendium Method TO-15 (7) -
ค่ามาตรฐานสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds; VOCs) (8) วิธีตรวจวัด
สารมลพิษในบรรยากาศ (Air Pollutants) ค่ามาตรฐาน (Standards)จะต้องไม่เกิน ค่าเฉลี่ยเวลา (Avg. Time)
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
เบนซีน (Benzene) 1.7 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15
ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride) 10 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15
1,2 - ไดคลอโรอีเทน (1,2 - Dichloroethane) 1.7 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15
ไตรคลอโรเอทธิลีน (Trichloroethylene) 1.7 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15
ไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) 1.7 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15
1,2 - ไดคลอโรโพรเพน (1,2 - Dichloropropane) 1.7 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15
เตตระคลอโรเอทธิลีน (Tetrachloroethylene)  1.7 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15
คลอโรฟอร์ม (Chloroform) 1.7 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15
1,3 - บิวทาไดอีน (1,3 - Butadiene) 1.7 μg/m3 1 ปี
US EPA Compendium Method TO-14A หรือ US EPA Compendium Method TO-15

หมายเหตุ: กรมควบคุมมลพิษออกประกาศวิธีตรวจวัดอื่นเพิ่มจากวิธีตรวจวัดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

ดัดแปลงจาก

(1) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2538) เรื่อง กําาหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2538

(2) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2544) เรื่อง กําาหนดมาตรฐานค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ในเวลา 1 ชั่วโมง ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2544

(3) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2547) เรื่อง กําาหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2547

(4) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กําาหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2550

(5) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กําาหนดมาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

(6) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 163 ง ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2565

(7) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กําาหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2560

(8) ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กําาหนดมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ปี ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

(9) ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง เครื่องวัดและวิธีตรวจวัดค่าเฉลี่ยของก๊าซหรือฝุ่นละอองในบรรยากาศในบรรยากาศโดยทั่วไประบบอื่นหรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562